ติวเข้ม Facilitator Skill

ติวเข้ม Facilitator Skill

คำเรียกที่ว่า “กระบวนกร” หรือ “วิทยากรกระบวนการ” เป็นคำที่ใช้แทนคำว่า Facilitator แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า Facilitator มีความหมายมากกว่านั้นมากมายนัก

Facilitator คือคนที่จะสร้างให้ทีมของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Facilitative หรือ ทักษะ Facilitator จึงเป็นทักษะเพื่อใช้ในการสร้างให้กลุ่มคนกลายเป็นทีมและเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ สร้างผลงานได้มากกว่าเดิมอีกด้วย การเป็น Facilitator จึงไม่จำกัดอยู่เพียงกิจกรรมเช่น TPM Facilitator, QCC Facilitator เท่านั้น แต่ Facilitator เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับหัวหน้างาน ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ผู้บริหารทุกระดับ วิทยากรและที่ปรึกษาทุกคนต้องมี เพื่อทำให้ทีมมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางาน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจความหมายหน้าที่ของ Facilitator
2. เพื่อให้เข้าใจความหมายของ ทีม ที่ถูกต้อง
3. เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของทีม
4. เพื่อให้เข้าใจรูปแบบของทีมและกระบวนการในทีม
5. เพื่อให้ทราบเครื่องมือที่ใช้ในการทำให้ทีมเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ

หัวข้อการสัมมนา
1. เกณฑ์การตัดสินว่า ทีมของคุณ เป็นทีมที่ดี
2. องค์ประกอบที่ทำให้ทีมเป็นทีมที่ดีคืออะไร?
3. ความหมายของ Facilitator
4. องค์กร กับ ทีม เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
5. ทำให้เป้าหมายคือ จุดมุ่งของทีม
6. หน้าที่ของ Facilitator
7. X-Ray ทีมของคุณ ว่ามีปัญหาอะไร
8. การวิเคราะห์พฤติกรรมของทีมและพฤติกรรมของคนในทีม
9. จาก “ทีมห่วย” เป็น “ทีมเลิศ”
10. ประชุมให้ดีทำอย่างไร “ระดมสมอง” หรือ “ดองสมอง”
11. ตัดสินใจร่วมกัน คือ บ่อเกิดของความร่วมมือ
12. เครื่องมือของ Facilitator มืออาชีพ

วิธีการสัมมนา                   การบรรยาย และ Workshop
คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา       ผู้บริหารระดับกลาง, ผู้บริหารระดับล่าง, หัวหน้างาน, พนักงานที่จะดำเนินกิจกรรม, ผู้ที่สนใจ
ระยะเวลา                         1 วัน
วิทยากร                           อ. บรรณวิท มณีเนตร

เค้าโครงหลักสูตร -Lean องค์กรด้วย TPM

เค้าโครงหลักสูตร -Lean องค์กรด้วย TPM

ทุกองค์กรอย่างได้การผลิตที่มีต้นทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ระบบการผลิตแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำมาใช้คือการผลิตแบบปรับเรียบหรือ Lean Manufacturing แต่การที่เราจะทำให้องค์กรของเราเกิด Lean นั้นทำได้อย่างไร เราจึงต้องมองให้ออกก่อนว่า องค์กรของเรามีจุดที่เป็นจุดคอขวดของกระบวนการต่างๆทั้งในสายงานการผลิตและสายงานสำนักงาน เพื่อหาทางปรับปรุงต่อไป ซึ่งการปรับปรุงองค์กรมีหลายเทคนิค หลายวิธีการ แต่วิธีการหนึ่งที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีการที่เป็นจริงให้ผลลัพธ์ที่จัดต้องได้คือ TPM ซึ่ง TPM ก็ไม่ได้มาเพื่อจัดการเครื่องจักรเท่านั้น แต่ TPM มีความหมายมากกว่านั้นมากมายนัก

Click เพื่ออ่านต่อ เค้าโครงหลักสูตร – Lean องค์กรด้วย TPM

หลีกเลี่ยง Dust Explosion ได้อย่างไร??

หลีกเลี่ยง Dust Explosion ได้อย่างไร??

คุณรู้หรือไม่ว่าแป้งข้าวโพด แป้งมัน น้ำตาล ในครัวที่บ้านเรานั้น “ระเบิดได้!!!!!!!!!!!”
ขอเวลาสัก 5 นาที ดู Clip นี้ https://www.youtube.com/watch?v=fI-jlNqpCQ8
คนไทยน้อยมากที่จะรู้จักกับ ฝุ่นระเบิดหรือ Dust Explosion และคนไทยยิ่งน้อยเข้าไปอีกที่เห็นว่า มีโอกาสที่จะเกิดระเบิดขึ้นในโรงงาน
ในวงการอุตสาหกรรม เราไม่เรียกว่า “อุบัติเหตุ” แต่เรารียกว่า “หายนะ” เพราะเราเชื่อว่า ทุกเหตุการณ์อุบัติเหตุในการทำงานเป็นเรื่องที่ป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ ระเบิดฝุ่นหรือ Dust Explosion ก็เช่นกัน เป็นเรื่องที่เราสามารถหลีกเลี่ยงและหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ เพียงแต่เราต้องรู้จักและเข้าใจปรากฎการที่เกิดขึ้นและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์หายนะนั้นเสียตั้งแต่ต้นดังคำที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้”

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความตระหนักถึงการระเบิดที่เกิดจากฝุ่น
2. เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบทั้ง 5 ของการเกิดระเบิดฝุ่น
3. เพื่อให้เข้าใจรูปแบบการเกิดระเบิดฝุ่น
4. เพื่อให้เข้าใจวิธีการในการหลีกเลี่ยงการเกิดระเบิดฝุ่น
5. เพื่อให้เข้าใจและรู้วิธีการเลือกอุปกรณ์ป้องกันการระเบิดจากฝุ่น

หัวข้อหลักสูตร
1. อะไรคือระเบิดฝุ่น
2. ระเบิดฝุ่นเกิดขึ้นได้อย่างไร
3. 5 องค์ประกอบของการเกิดระเบิดฝุ่น
4. ฝุ่นอะไรบ้างที่ระเบิดได้
5. อุปกรณ์ช่วยลดการเกิดระเบิดฝุ่น
6. หลีกเลี่ยงการเกิดฝุ่นระเบิดได้อย่างไร?
7. อุปกรณ์ป้องกันการระเบิดมีอะไรบ้าง
8. ข้อดี-ข้อเสียของอุปกรณ์ป้องกันแบบต่างๆ

วิธีการสัมมนา                      การบรรยายและตัวอย่าง
คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา         ผู้บริหารระดับกลาง, ผู้บริหารระดับล่าง, หัวหน้างาน, ผู้ที่สนใจ
ระยะเวลา                             0.5 วัน
วิทยากร                               ผู้เชี่ยวชาญเรื่องระเบิดฝุ่นจาก BS+B

 

คลิกเพื่อลงทะเบียน

สุดยอดนักวางแผนการบำรุงรักษามืออาชีพ

สุดยอดนักวางแผนการบำรุงรักษามืออาชีพ

สุดยอดนักวางแผนการบำรุงรักษามืออาชีพ

การทำงานที่ดีย่อมต้องวัดผลได้ การวางแผนการบำรุงรักษาก็เช่นเดียวกัน นักวางแผนการบำรุงรักษาที่ดีย่อมต้องทำให้เกิดผลผลัพธ์ที่ดีต่อองค์กรได้ แต่การที่จะเป็นนักวางแผนการบำรุงรักษาที่ดีไม่ใช่แค่วางแผน แต่ต้องเข้าใจรูปแบบของการทำงานบำรุงรักษาเป็นอย่างดี เพื่อที่จะสามารถวางแผนได้อย่าวเหมาะสมกับเครื่องจักรและไม่สร้างงานบำรุงรักษาที่มากเกินไป
หลักสูตร “สุดยอดนักวางแผนการบำรุงรักษา” เป็นหลักสูตรเดียวที่จะทำให้นักวางแผนการบำรุงรักษา หรือ วิศวกรที่วางแผนการบำรุงรักษา สามารถนำไปวางแผนการบำรุงรักษาได้อย่างมืออาชีพ ทำให้เกิดผลผลัพธ์ที่จับต้องได้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อทราบความหมายและแนวคิดของ Breakdown
2. เพื่อทราบความสูญเสียที่เกิดขึ้นจาก Breakdown
3. เพื่อทราบวิธีการในการขจัด Breakdown
4. เพื่อทราบถึงลักษณะการบำรุงรักษาแบบต่าง ๆ
5. เพื่อทราบการวัดผลของการวางแผนการบำรุงรักษา

หัวข้อการสัมมนา
วันแรก
1. นิยามของ Breakdown คืออะไร
2. Breakdown เกิดขึ้นได้อย่างไร
3. KPI ของฝ่ายบำรุงรักษา
4. การจัดทำบัญชีรายชื่อเครื่องจักร
5. การจัดกลุ่มและลำดับความสำคัญของเครื่องจักร
6. ความหมายของชิ้นส่วนและอะไหล่ต่างกันอย่างไร
7. งานบำรุงรักษามีอะไรบ้าง
8. ข้อดี-ข้อด้อยของการบำรุงรักษาแบบต่าง ๆ
9. Post Breakdown Action
10. การวิเคราะห์เครื่องจักรเสีย (Breakdown Analysis)
วันที่ สอง
11. การวางแผนการบำรุงรักษาตามคาบเวลา
12. การวางแผนการบำรุงรักษาตามสภาพ
13. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดสภาพชิ้นส่วน
14. Shutdown Maintenance อย่างไรให้ได้งานและเสร็จตามเวลา
15. การวิเคราะห์ Workload ของงานบำรุงรักษา
16. ความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร (Reliability) คืออะไร
17. Reliability Cantered Maintenance (RCM) คืออะไร
18. แนวคิดและหลักการของ RCM
19. การจัดการอะไหล่ เพื่อสนับสนุนงานบำรุงรักษา
20. ตัวชี้วัดการวางแผนการบำรุงรักษาที่ดี
21. การวัดผลลัพธ์ของการบำรุงรักษา
22. การเลือกโปรแกรมช่วยวางแผนการบำรุงรักษา CMMS

วิธีการสัมมนา                      การบรรยาย ตัวอย่าง Workshop
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสัมมนา  ผู้จัดการฝ่ายบำรุงรักษา, หัวหน้างานบำรุงรักษา, วิศวกร, ผู้วางแผนการบำรุงรักษา
ระยะเวลาสัมมนา                  2 วัน
วิทยากร                                อ. บรรณวิท มณีเนตร

บทความที่เกี่ยวข้อง (คลิกที่ Link เพื่ออ่าน)

คุณรู้จัก นักวางแผนการบำรุงรักษา หรือไม่??
นักวางแผนบำรุงรักษา (1)
นักวางแผนบำรุงรักษา (2)
นักวางแผนบำรุงรักษา (3)
นักวางแผนบำรุงรักษา (4)

คลิกเพื่อลงทะเบียน

การจัดการเอกสารแนวใหม่ตาม ISO9001, 14001:2015

การจัดการเอกสารแนวใหม่ตาม ISO9001, 14001:2015

การจัดการเอกสารแนวใหม่ตาม ISO9001, 14001:2015

 

เอกสารถือว่ามีความสำคัญสำหรับการทำงานและการทำตามมาตรฐาน ISO แต่การจัดการเอกสารกลับเป็นปัญหากวนใจองค์กรทำ ISO มาตลอด ตั้งแต่มาตรฐาน ISO ได้ถือกำเนิดขึ้น และในปัจจุบันมาตรฐาน ISO ฉบับล่าสุดปี 2015 ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเอกสารอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกยุคนี้ องค์กรจึงต้องทำความเข้าใจกับระบบการจัดการเอกสารแนวใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงข้อกำหนดการจัดการเอกสารของ ISO 9001 และ 14001:2015
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบแนวทางการจัดการเอกสารตามมาตรฐานใหม่
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบวิธีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดงานด้านการจัดการเอกสาร

 

หัวข้อการสัมมนา

  1. พัฒนาการของการจัดการเอกสารของ ISO
  2. ข้อกำหนดการจัดการเอกสารตามมาตรฐานฉบับปี 2015
  3. ความหมายของ Document Information
  4. ความแตกต่างในการจัดการเอกสารของระบบเก่าและระบบใหม่
  5. จุดจบของ Quality Manual, Procedure, Instruction และ Record
  6. รูปแบบของเอกสารในฉบับ 2015 เหมือนจะง่ายแต่….
  7. ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับเอกสารในฉบับ 2015
  8. Document Control Center ไม่มีได้ไหม
  9. เทคโนโลยีกับการจัดการเอกสารตามมาตรฐาน ISO

 

วิธีการสัมมนา                      การบรรยายและฝึกปฏิบัติ

คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา      ผู้จัดการ, หัวหน้างาน, ผู้ที่สนใจ

ระยะเวลา                             1 วัน

วิทยากร                                อ. บรรณวิท มณีเนตร

คลิกเพื่อลงทะเบียน

 

QC 7 Tools ภาคปฏิบัติ

QC 7 Tools ภาคปฏิบัติ

รูปแบบของปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น อาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือแบบที่เป็นการวิเคราะห์ได้ด้วยตัวเลข และวิเคราะห์ได้ในเชิงเหตุผล ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในกรวิเคราะห์คือ QC 7 Tools และ New QC 7 Tools ตามลำดับ เครื่องมือที่เป็นอมตะในการทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องนั้นอย่าง QC 7 Tools ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือ 7 อย่างด้วยกันคือ กราฟ แผนตรวจสอบ พาเรโต ผังก้างปลา ผังการกระจาย แผนภูมิควบคุม ฮีสโตรแกรม ซึ่งแต่ละอย่างก็มีวิธีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่แต่ต่างกัน แต่หากสามารถนำมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมได้ ก็จะสามารถเข้าถึงช่วยในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรนี้เป็นที่ให้ผู้ที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องเครื่องมือในการแก้ปัญหาต่างมาก่อนเลยได้เข้าใจการใช้เครื่องมือต่างๆ และและสามารถนำไปใช้ในงานจริงได้ นอกจาก QC 7 Tools ทั้ง 7 แล้ว ยังแนะนำให้ท่านได้รู้จักกับ New QC 7 Tools เพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำไปใช้อีกด้วย

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้เข้าใจและรู้จักการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาทั้ง 7 เครื่องมือ
  2. เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ที่หน้างานจริงได้

หัวข้อการสัมมนา

วันที่แรก

  1. การเขียนกราฟแบบต่างๆ
  2. การใช้งาน การตีความกราฟแบบต่างๆ
  3. การจัดทำ แผนตรวจสอบ (Check Sheet)
  4. ชนิดของแผนตรวจสอบ
  5. การออกแบบแผนตรวจสอบ
  6. ความหมายของพาเรโต
  7. การทำแผนภูมิพาเรโต
  8. การตีความหมายของพาเรโต
  9. การจัดทำผังก้างปลา
  10. ข้อควรปฏิบัติในการจัดทำผังก้างปลา
  11. การทำผังการกระจาย
  12. การหาค่าความสัมพันธ์ผังการกระจาย
  13. การจัดทำ ฮีสโตรแกรม
  14. การตีความหมายของ ฮีสโตรแกรม

วันที่สอง

  1. สถิติเบื้องต้น
  2. การคำนวณ ค่าเฉลี่ยต่างๆ ความหมายของค่าเฉลี่ยแบบต่างๆ
  3. การคำนวณค่าการเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  4. การจัดทำแผนภูมิควบคุม
  5. การนำแผนภูมิควบคุมไปใช้งาน
  6. การตีความหมายของแผนภูมิควบคุม
  7. แนะนำ New QC 7 Tools

 

วิธีการสัมมนา                        การบรรยาย ตัวอย่างและการทำ Work Shop

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสัมมนา   ผู้จัดการคุณภาพ, หัวหน้างานทุกแผนกขึ้นไป

ระยะเวลาสัมมนา                   2 วัน

วิทยากร                                  อ. บรรณวิท มณีเนตร

 

หมายเหตุ  ผู้เข้าอบรมควรนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาด้วย

 

รักอย่างถูกวิธีด้วย Employee Engagement

รักอย่างถูกวิธีด้วย Employee Engagement

งานวิจัยมากมายรายงานว่า พนักงานที่มีความรักและผูกพันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานมากกว่าพนักงานที่ไม่รักและผูกพัน ความผูกพันตรงกับคำว่า Engagement ซึ่งมีความหมายที่กว้างกว่าแค่มีความพึงพอใจในงานที่ทำแต่ยังมีความหมายถึงความรัก การผูกติดอยู่กับงานและกับองค์กรที่ทำด้วย เมื่อพนักงานมีความผูกพันทั้งในงานและในองค์กรแล้ว ผลงานจะดีขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ เหมือนเช่นที่เราทำงานอดิเรกที่เราชอบ เราจะรู้สึกว่าเพลินและสนุกไปกับงาน งานจึงมีประสิทธิภาพดี ดังนั้นเรื่องของ Engagement จึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกองค์กรต้องสร้างให้พนักงานของตนเองเกิดขึ้น แต่การจะสร้างให้พนักงานผูกพันหรือ Employee Engagement นั้นต้องทราบก่อนว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความผูกพันและอะไรเป็นสิ่งที่ทำลายความผูกพันของพนักงาน เพื่อที่เราจะได้สร้างให้พนักงานมีความผูกพันได้อย่างถูกต้อง

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ทราบความหมายของ Employee Engagement
  2. เพื่อทราบความแตกต่างของ Engagement กับ ตัวแปรอื่นๆ
  3. เพื่อทราบปัจจัยที่มีผลต่อ Engagement
  4. เพื่อหาทางเพิ่ม Employee Engagement
  5. เพื่อให้ทราบแนวทางในการสร้าง Employee Engagement

 

หัวข้อการสัมมนา

  1. ความหมายของ Engagement
  2. ความหมายของความเบื่อหน่ายในงานหรือ Burnout
  3. ลักษณะของคนที่ Engagement
  4. Engagement มีความสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้าง
    • Turnover
    • ผลการปฏิบัติงาน
    • ประสิทธิภาพในการทำงาน
    • ความเครียดในการทำงาน
  5. ปัจจัยที่ก่อให้เกิด Engagement
  6. ปัจจัยที่ทำลาย Engagement
  7. สร้าง Employee Engagement เป็นหน้าที่ของใคร
  8. เลือกคนอย่างไรให้มี Engagement

 

วิธีการสัมมนา                      การบรรยายและตัวอย่าง

คุณสมบัติผู้เข้าสัมมนา      ผู้บริหารระดับสูง, ผู้บริหารระดับกลาง, ผู้บริหารระดับล่าง, หัวหน้างาน, ผู้ที่สนใจ

ระยะเวลา                             1 วัน

วิทยากร                                อ. บรรณวิท มณีเนตร

 

วิเคราะห์ OEE ขั้นเทพ

วิเคราะห์ OEE ขั้นเทพ

การวัดประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness: OEE) เป็นดัชนีชี้วัดที่หลายองค์กรนำไปใช้ โดยหวังว่าจะสามารถบอกถึงประสิทธิภาพที่แท้จริงของเครื่องจักรได้ แต่แท้ที่จริงแล้วการหาค่า OEE กลับมีหลายประเด็นที่เป็นปัญหาให้ถกเถียงทั้งในการคำนวณที่ไม่สามารถสะท้อนปัญหาในการผลิตได้ การตีความและการวิเคราะห์ค่า OEE ที่ได้เพื่อการทำการปรับปรุงการทำงาน หลักสูตรนี้จะเน้นการตีความจากการคำนวณค่า OEE พร้อมการวิเคราะห์ค่า OEE ที่คำนวณได้พร้อมทั้งปัญหาในการนำ OEE ไปใช้เพื่อให้สามารถสะท้อนปัญหาในการผลิตได้จริง

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้เข้าใจความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักร
  2. เพื่อให้สามารถทำการเก็บข้อมูลต่างๆ ของเครื่องจักรได้
  3. เพื่อให้สามารถคำนวณค่าความพร้อม สมรรถนะ อัตราของดีได้
  4. เพื่อให้สามารถตีความหมายของค่า OEE ที่คำนวณได้
  5. เพื่อทราบปัญหาของการนำค่า OEE ไปใช้งาน

 

หัวข้อการสัมมนา

  1. ความสูญเสียต่างๆ ของเครื่องจักร
  2. ทบทวนการคำนวณอัตราความพร้อม อัตราสมรรถนะ อัตราของดี และการคำนวณ OEE
  3. การวิเคราะห์ค่า OEE ที่ได้จากการคำนวณ
    • OEE เครื่องจักร แบบอัตโนมัติ, แบบกึ่งอัตโนมัติ, แบบไม่มีเครื่องจักร
    • OEE สายการผลิต แบบ I, แบบ Y
  4. เทคนิคและลูกเล่นในการคำนวณค่า OEE
    • OEE สูงแต่ทำไมผลผลิตตกต่ำ
    • OEE ตกต่ำมาจากเครื่องจักรจริงหรือ
    • OEE เกิน 100% ได้ไหม
  5. OEE สะท้อนต้นทุนได้อย่างไร (OEE vs. ROA)
  6. ขั้นตอนการนำระบบ OEE ไปใช้งานจริง
  7. การวางแผนและติดตามการแก้ไขปรับปรุงค่า OEE
  8. จุดอ่อนของการคำนวณ OEE
  9. TEEP ช่วยท่านได้อย่างไร
  10. ปัญหาในการนำ OEE ไปใช้งาน

 

วิธีการสัมมนา                                     การบรรยาย ตัวอย่าง การทำ Work Shop ถามตอบปัญหาต่างๆ

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสัมมนา              ผู้บริหารองค์กร, ผู้จัดการ, หัวหน้างานขึ้นไป

ระยะเวลาสัมมนา                               1 วัน

วิทยากร                                                อ. บรรณวิท มณีเนตร

รับมือกับค่าแรงใหม่อย่างไรกำไรไม่หด

รับมือกับค่าแรงใหม่อย่างไรกำไรไม่หด

รับมือกับค่าแรงใหม่อย่างไรกำไรไม่หด เหตุการณ์เมื่อครั้งรัฐบาลปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ ยังผลให้เจ้าของกิจการมากมายที่ต้องเลิกกิจการไปเพราะไม่ได้มีการบริหารจัดการที่ดี มาคราวนี้มีแนวโน้มอีกแล้วว่าจะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำใหม่...

อ่านเพิ่มเติม
Cost Losses Matrix

Cost Losses Matrix

Cost Losses Matrix ในช่วงที่เศรษฐกิจที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงแบบนี้ ส่วนใหญ่ก็จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มยอดขายให้ได้มากขึ้น แต่การเพิ่มยอดขายไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ซึ่งอุปสรรคของการเพิ่มยอดขายนั้นมีอุปสรรคมากมายไม่ว่าจะเป็นราคาของคู่แข่ง คุณภาพของสินค้าของคู่แข่ง สภาพเศรษฐกิจ...

อ่านเพิ่มเติม
การประเมินผลการฝึกอบรมด้วยสถิติบน Excel

การประเมินผลการฝึกอบรมด้วยสถิติบน Excel

การฝึกอบรมเป็นวิธีการหนึ่งในการเพิ่มความสามารถให้กับพนักงาน แต่ท่านทราบได้อย่างไรว่าการอบรมนั้นสามารถสร้างความแตกต่างในด้านความรู้ให้กับผู้ฝึกอบรมได้จริง วิธีการหนึ่งที่นิยมใช้กันมากคือ การให้ทำข้อสอบก่อนอบรมและหลังอบรมหรือ Pre-Post Test...

อ่านเพิ่มเติม
เทคนิคการลดต้นทุน

เทคนิคการลดต้นทุน

สำหรับโรงงานที่ประสบปัญหา พนักงานในองค์กรไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนมากนักหรือพนักงานไม่ทราบถึงเทคนิคการลดต้นทุนหรือไม่สามารถมองเห็นภาพรวมการลดต้นทุน...

อ่านเพิ่มเติม
เทคนิคสร้างทีม

เทคนิคสร้างทีม

ในการทำงานในปัจจุบันที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การทำงานให้สำเร็จลุล่วงลงไปได้ด้วยดีนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถทำได้คนเดียวอีกต่อไป แต่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะนำคนที่มีความรู้ ประสบการณ์ ความคิด...

อ่านเพิ่มเติม
การเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานจัดซื้อ

การเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานจัดซื้อ

ฝ่ายจัดซื้อเป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุดหน่วยงานหนึ่งใน Supply Chain ขององค์กร เพราะเป็นฝ่ายต้นทางที่สินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆ จะเริ่มกระบวนการที่จะเข้าสู่องค์กร อีกทั้งฝ่ายจัดซื้อยังเป็นผู้จัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบในราคาที่เหมาะสมกับการทำงานด้วย...

อ่านเพิ่มเติม
การประเมินผลการปฏิบัติงาน (หลักการ เกณฑ์ วิธีการและการประเมิน: Concept, Criteria, Measurement, Evaluation)

การประเมินผลการปฏิบัติงาน (หลักการ เกณฑ์ วิธีการและการประเมิน: Concept, Criteria, Measurement, Evaluation)

ในปัจจุบันนี้วิธีการการประเมินผลการปฏิบัติงานมีมากมายหลายวิธี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำวิธีการนั้นๆ มาจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น คำถามที่น่าสนใจก็คือ “วิธีการที่เรานำมาใช้นั้น เหมาะสมกับงานที่ทำ เหมาะสมกับองค์กร เหมาะสมกับวัฒนธรรมของเราหรือไม่” หลายองค์กรใช้การประเมินแบบ...

อ่านเพิ่มเติม
การประสานงาน การสื่อสาร การโน้มน้าว สำหรับผู้ประสานงานกิจกรรม

การประสานงาน การสื่อสาร การโน้มน้าว สำหรับผู้ประสานงานกิจกรรม

ในการทำกิจกรรมต่างๆ นั้น ผู้ประสานงานกิจกรรม มักเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในการทำให้กิจกรรมนั้นประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว เพราะผู้ประสานงานกิจกรรมจะต้องเป็นผู้ที่โน้มน้าวพนักงานในแผนกให้ทำกิจกรรมตามที่องค์กรต้องการ ต้องประสานงานในการดำเนินการต่างๆ...

อ่านเพิ่มเติม
OPL-Soft or OPoL™

OPL-Soft or OPoL™

OPL - One Point Lesson is a simple and fast learning lesson that helps everyone to share their knowledge to other colleagues easily with simple content by use of picture. OPL is the tool to change Tacit Knowledge of individual to Explicit Knowledge of organization...

อ่านเพิ่มเติม
OEE-Soft

OEE-Soft

โปรแกรมการบันทึกค่า OEE หรือ Overall Equipment Effectiveness ที่แตกต่างจากโปรแกรม OEE ทั้งไปที่มีขายในท้องตลาด ช่วยให้คุณสามารถ โปรแกรม OEE-Soft สามารถใช้ได้ทั้งแบบ Real Time คือการดึงข้อมูลจากเครื่องจักรมาโดยตรง(ต้องมี Hardware รองรับ) และแบบ Key-in (Manual)ได้...

อ่านเพิ่มเติม
OPL-Soft หรือ OPoL

OPL-Soft หรือ OPoL

              รู้สึกแบบนี้บ้างไหม กับระบบ OPL (One Point Lesson) แบบเดิมๆ ต้องเขียน OPL ใส่กระดาษ กว่าจะถ่ายรูปแล้วมา Print ตัด ปะ อีกรอบ เสียเวลา ......................................น่ารำคาญ เห็นไอเดียเจ๋งๆ แต่กว่าจะเขียน OPL...

อ่านเพิ่มเติม

 Video การบรรยายของ TPMThai

 TPMThai Activities

Visual Workplace เพื่อขจัดความสูญเปล่า

Visual Workplace เพื่อขจัดความสูญเปล่า

วันหนึ่ง ผมได้มีโอกาสไปสอนที่โรงงานแห่งหนึ่งเรื่อง “Visual Workplace เพื่อขจัดความสูญเปล่า”

วันนั้นมีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 30 คน ผมเปิดฉากด้วยการตั้งคำถามว่า “เราต้องรู้อะไรบ้าง เพื่อทำให้งานของเราสำเร็จ”

ผมปล่อยเวลาสักพักหนึ่งเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เขียนสิ่งที่ต้องรู้ เพื่อทำให้งานของเราสำเร็จ โดยให้ทุกคนเขียนลงในกระดาษที่เตรียมไว้ให้ จากนั้นผมก็จะขออาสาสมัครจากผู้เข้าอบรม ให้อ่านสิ่งที่เขาเขียนให้เพื่อนๆที่เข้าอบรมด้วยกันรู้ฟัง

ระหว่างนั้นเอง มีผู้เข้าอบรมท่านหนึ่งที่นั่งอยู่หลังห้อง ลุกขึ้นทั้งยืนด้วยสีหน้าเคร่งเครียด หน้าตาของเขาบ่งบอกเลยว่าเขาไม่พอใจอย่างมาก เขาเป็นชายตัวสูง ร่างกายกำยำ ผิวคล้ำ ใส่ชุดหมีซึ่งรู้ได้แทบจะทันทีว่าเขาเป็นพนักงานช่าง เขาพูดด้วยน้ำเสียงเคร่งเครียดตามสีหน้าของเขาว่า

“อาจารย์!!!  อาจารย์รู้ไหมว่าผมอยากรู้อะไร?” เขามองมาที่ผมด้วยสีหน้าเครียดเหมือนเดิม แววตาเหมือนโกรธใครมาสักร้อยปี ในเวลานั้นบรรยากาศในห้องเต็มไปด้วยความเครียด ทุกคนมองมาที่ผมกับชายร่างใหญ่คนนั้น ผมทำใจดีสู้เสือ ผมมั่นใจว่าผมไม่ได้เป็นคนทำให้เขาเครียดขนาดนี้แน่นอน

“ผมไม่ทราบครับ แต่ผมอยากทราบว่าคุณพี่ชื่ออะไรครับ?” ผมถามอย่างนอบน้อมครับ

“อาจารย์ ผมชื่อ มนัส ผมรู้ว่าอาจารย์ไม่รู้ แต่ผมอยากรู้ อยากรู้มาก อยากรู้มากๆ” เสียงไต่ระดับความดังของเสียงให้ดังขึ้นตามระดับความต้องการของเขา เสียงขอเขาดังไปทั่วห้องอบรม น้ำเสียงเขาแข็งกร้าว ผมคิดในใจว่าผมจะช่วยเขาได้อย่างไร อะไรที่ผมไม่รู้ในความคิดของเขา ผมต้องช่วยให้เขาผ่านความเครียดนี้ไปให้ได้แต่ก่อนที่ผมจะได้เอ่ยปากถามอะไร

เขายกมือทั้งสองข้างขึ้นมาเท้าโต๊ะโน้มตัวมาข้างหน้า หน้าเขาเครียดแล้ว เขาก็กล่าวต่อขึ้นมาว่า “ผมอยากรู้ว่า ใครเอาประแจผมไป? ผมวางเอาใส่ไว้กล่องเครื่องมือของผม แต่เมื่อเช้าผมจะใช้เอาไปตั้งเครื่อง มันไม่อยู่แล้ว ใครเอาประแจผมไป เอามาคืนด้วย อย่าให้ไปเจอนะ ว่าอยู่ที่ใคร” แล้วเขาก็นั่งลง

เพื่อนในห้องประชุมต่างพอกันบอกว่า พี่มนัสใจเย็นๆ เดี๋ยวคนที่เขาเอาไปก็เอามาคืนเองแหละ

“ขอให้จริงเถอะ นี่มันตัวที่สามแล้วนะ หาย แ…งได้ตลอดเลย”

นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนเริ่มอบรมเรื่อง Visual Workplace ปัญหาเกิดขึ้นจากการที่เราไม่เคยทำให้ข้อมูลที่เราต้องรู้ถูกแสดงออกมา ช่างมนัสต้องการใช้เครื่องมือของเขา แต่เครื่องมือไม่อยู่ในที่ที่เขาต้องการให้มันอยู่ เขาไม่เคยรู้ว่ามันหายไปจากกล่องเครื่องมือของเขาแล้วตั้งแต่เมื่อไร เขาไม่รู้ว่าใครเอาเครื่องมือของเขาไป นี่คือภาพความวุ่นวายของการขาดการทำ Visual เพราะเราไม่เคยมีข้อมูลที่เราต้องรู้ อยู่ในเวลาที่เราต้องการรู้ เราไม่เคยรู้ว่า วัตถุดิบที่ต้องใช้อยู่ที่ไหน ไม่เคยรู้ว่าวัตถุดิบตัวไหนต้องใช้ก่อน ไม่รู้ว่าสายการผลิตต่อจากเราเขาต้องการอะไร สายการผลิตก่อนหน้าเราเขากำลังทำอะไรอยู่ ไม่เคยรู้ว่าเครื่องมือที่ต้องใช้อยู่ที่ไหน เราทำได้เพียงแค่วิ่งหาข้อมูลที่ต้องการ

นั่นคือหลักฐานที่บอกว่า เรากำลังขาดการทำ Visual อย่างรุนแรง

เมื่อขาด Visual ข้อมูลหรือ Information ที่ต้องการจึงไม่มี ทุกอย่างจึงมีแต่ความวุ่นวาย เสียเวลา เสียทรัพยากร ทำให้ Lead Time นานขึ้น ทำให้ Changeover ใช้เวลามากกว่าเดิม

เราจะมีวิธีการใดที่จะทำให้องค์กรของเราเป็นองค์กรที่ Visual เพื่อลดปัญหาในการทำงาน ด้วยหลักสูตร “Visual Workplace เพื่อขจัดความสูญเปล่า” ในวันที่ …. มิย. 2558 ติดต่อสอบถาม โทร. 021710211

Basic Statistical Process Control สำหรับผู้ไม่มีความรู้ทางสถิติ

Basic Statistical Process Control สำหรับผู้ไม่มีความรู้ทางสถิติ

เมื่อวันที่ 21/3 TPMthai ได้จัดอบรมหลักสูตร Basic Statistical Process Control สำหรับผู้ไม่มีความรู้ทางสถิติ ให้กับทีมงานผลิตและตรวจสอบคุณภาพ Nihon Parts (Thailand) Co., Ltd. ณ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนามจากเกมและการเรียนรู้สถิติแบบง่ายๆ ด้วยภาพ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการควบคุมคุณภาพด้วยสถิติไม่ต้องท่องสูตรอีกต่อไป

AM – PM ทำอย่างไรให้ไปด้วยกันได้

AM – PM ทำอย่างไรให้ไปด้วยกันได้

ขอเชิญท่านผู้สนใจ เข้าร่วมรับการอบรมหลักสูตร

AM-PM
ทำอย่างไรให้ไปด้วยกันได้?

เปิดอบรมวันที่ 7 เมษายน 2558
ณ โรงแรมมิราเคิล สุวรรณภูมิ เวลา 9.00 – 16.00 น.
โดย อ.บรรณวิท มณีเนตร

ติดต่อขอรับรายละเอียด และสำรองที่นั่งได้ที่ โทร. 02-171-0210-11 หรือ 085-131-1083

หลักสูตร why-Why Analysys and Maintenance

หลักสูตร why-Why Analysys and Maintenance

รุ่น ที่ 2 แล้วนะคะกับหลักสูตร why-Why Analysys and Maintenance ในหลักสูตรนี้เราได้รับเกียติรจากท่านอาจารย์จุมพล เกียติรสุวรรณ มาเป็นวิทยากรให้เช่นเดิมค่ะ โดยในหลักสูตรนี้มีพี่ๆ Engineer หลายท่านที่มากด้วยประสบการณ์ในการทำงานมานั่งรับฟังการสัมมนาในครั้งนี้ ด้วย หวังว่าจะได้นำไปใช้ในการทำงานนะคะ
TPMthai — at Hitachi Automotive Systems Chonburi Ltd.

หลักสูตร Planned Maintenance

หลักสูตร Planned Maintenance

งานนี้พี่ๆEngineer ต้องเรียนหลักสูตรนี้เพื่อไปใช้ในงานจริง เลยต้องเรียนกันอย่างเคร่งเครียดดูหน้าแต่ละพี่ๆท่านแล้วมีความมุ่งมั่นสูงมากๆจ้า
บรรยายหลักสูตรโดย ท่านอาจารย์บรรณวิท มณีเนตร ในวันที่ 13/06/2014 ที่ผ่านมา

หลักสูตร Root Couse Analysis

หลักสูตร Root Couse Analysis

มาร่วมกันหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหากับหลักสูตร Root Couse Analysis โดยหลักสูตรนี้ได้รับเกียติจากท่านอาจารย์ เอกพล ปานขำ ในหลักสูตรมีผู้ร่วมสัมมนาหลากหลายหน้าที่งานมาแชร์ความคิดและมุมมองที่ทำ ให้เกิดปัญหา ทำ work shop กันอย่างเมามันส์กันเลยทีเดียวค่ะ

 ลูกค้าของเรา